Volkswagen Beetle Oval 1955
โฟล์คเต่าจอไข่ (รุ่นปี 53-57)
โฟล์คได้ขยายจอหลังให้เป็นรูปไข่ที่กว้างกว่ารุ่นจอแบ่ง 23% เป็นกระจกแบบนิรภัยสองชั้น โดยเริ่มจากรถที่ผลิตในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1953 จอหลังแบบใหม่นี้ทำให้ด้านท้ายของรถดูนุ่มนวลและโค้งมนได้สัดส่วน จนกลายเป็นรถเต่ารุ่นอมตะที่สุดรุ่นหนึ่งของโฟล์ค นอกจากนั้นยังได้พัฒนาเครื่องยนต์ฐานตึกให้มีแรงม้าเพิ่มขึ้นเป็น 30 แรงม้า โดยขยายขนาดลูกสูบจาก 75 มม. เป็น 77 มม. กับขยายวาล์วไอดี ทำให้ความจุของเครื่องยนต์เพิ่มจาก 1131cc เป็น 1192cc. แต่ยังทนทานและประหยัดน้ำมันเหมือนเดิม และด้วยนโยบายพัฒนารถพื้นฐานเดิมให้ดีขึ้นในทุกรุ่นปี ส่งผลให้รถเต่ารุ่นจอไข่มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โฟล์คเล็งเห็นถึงกำลังซื้อมหาศาลของตลาดอเมริกาที่เริ่มให้การตอบรับ Nordhoff พร้อมทีมงานจึงเร่งพัฒนารถให้มีความปลอดภัยมากขึ้นเพื่อให้ผ่านกฎหมายความปลอดภัยที่เข้มงวด จึงได้ตัดสินใจเปลี่ยนระบบสัญญาณไฟให้ปลอดภัยมากขึ้น ได้แก่ ไฟท้ายรูปหัวใจถูกแทนที่ด้วยไฟท้ายทับทิมที่ให้แสงไฟเบรกสว่างเพิ่มขึ้น ใช้หลอดไฟหน้าแบบซีลบีมพร้อมกับเลนส์ใส เปลี่ยนไฟเลี้ยวจากไฟกระดกมาเป็นไฟเลี้ยวแบบกระสุน เสริมความแข็งแรงให้กับกันชนกาบเรียบโดยเพิ่มรั้วกันชนพร้อมขาค้ำคล้ายราวตากผ้า ส่งผลให้โฟล์คมียอดการผลิตถึง 1,000,000 คัน ในปี ค.ศ. 1955
ในรุ่นปี 56 โฟล์คได้ปรับปรุงอุปกรณ์ภายในให้เพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้น โดยออกแบบพนักพิงให้สามารถปรับระดับความชันกับเลื่อนเบาะเดินหน้าหรือถอยหลังได้ พร้อมกับออกแบบเบาะหลังให้กว้างขวางนั่งสบายขึ้น และเปลี่ยนมาใช้ถังน้ำมันแบบหลังอูฐที่ใช้กันมาถึงรุ่นปี 60 เพื่อให้จุสัมภาระได้มากกว่าเดิม โฟล์คสามารถควบคุมราคารถให้อยู่ในระดับที่ลูกค้าสัมผัสได้ และรถเต่ารุ่นจอไข่นี่เองที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับโฟล์ค จนกลายเป็นรถอมตะที่ยังคงครองใจผู้คน 136 ประเทศทั่วโลก ดังจะเห็นได้จากการที่โฟล์คสามารถเปิดสายการผลิตในต่างประเทศ โดยใช้วิธีส่งชิ้นส่วนไปประกอบ (CKD) ได้แก่ ไอร์แลนด์ อัฟริกาใต้ บราซิล ออสเตรเลีย เม็กซิโก และนิวซีแลนด์
โฟล์คได้ขยายจอหลังให้เป็นรูปไข่ที่กว้างกว่ารุ่นจอแบ่ง 23% เป็นกระจกแบบนิรภัยสองชั้น โดยเริ่มจากรถที่ผลิตในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1953 จอหลังแบบใหม่นี้ทำให้ด้านท้ายของรถดูนุ่มนวลและโค้งมนได้สัดส่วน จนกลายเป็นรถเต่ารุ่นอมตะที่สุดรุ่นหนึ่งของโฟล์ค นอกจากนั้นยังได้พัฒนาเครื่องยนต์ฐานตึกให้มีแรงม้าเพิ่มขึ้นเป็น 30 แรงม้า โดยขยายขนาดลูกสูบจาก 75 มม. เป็น 77 มม. กับขยายวาล์วไอดี ทำให้ความจุของเครื่องยนต์เพิ่มจาก 1131cc เป็น 1192cc. แต่ยังทนทานและประหยัดน้ำมันเหมือนเดิม และด้วยนโยบายพัฒนารถพื้นฐานเดิมให้ดีขึ้นในทุกรุ่นปี ส่งผลให้รถเต่ารุ่นจอไข่มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โฟล์คเล็งเห็นถึงกำลังซื้อมหาศาลของตลาดอเมริกาที่เริ่มให้การตอบรับ Nordhoff พร้อมทีมงานจึงเร่งพัฒนารถให้มีความปลอดภัยมากขึ้นเพื่อให้ผ่านกฎหมายความปลอดภัยที่เข้มงวด จึงได้ตัดสินใจเปลี่ยนระบบสัญญาณไฟให้ปลอดภัยมากขึ้น ได้แก่ ไฟท้ายรูปหัวใจถูกแทนที่ด้วยไฟท้ายทับทิมที่ให้แสงไฟเบรกสว่างเพิ่มขึ้น ใช้หลอดไฟหน้าแบบซีลบีมพร้อมกับเลนส์ใส เปลี่ยนไฟเลี้ยวจากไฟกระดกมาเป็นไฟเลี้ยวแบบกระสุน เสริมความแข็งแรงให้กับกันชนกาบเรียบโดยเพิ่มรั้วกันชนพร้อมขาค้ำคล้ายราวตากผ้า ส่งผลให้โฟล์คมียอดการผลิตถึง 1,000,000 คัน ในปี ค.ศ. 1955
ในรุ่นปี 56 โฟล์คได้ปรับปรุงอุปกรณ์ภายในให้เพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้น โดยออกแบบพนักพิงให้สามารถปรับระดับความชันกับเลื่อนเบาะเดินหน้าหรือถอยหลังได้ พร้อมกับออกแบบเบาะหลังให้กว้างขวางนั่งสบายขึ้น และเปลี่ยนมาใช้ถังน้ำมันแบบหลังอูฐที่ใช้กันมาถึงรุ่นปี 60 เพื่อให้จุสัมภาระได้มากกว่าเดิม โฟล์คสามารถควบคุมราคารถให้อยู่ในระดับที่ลูกค้าสัมผัสได้ และรถเต่ารุ่นจอไข่นี่เองที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับโฟล์ค จนกลายเป็นรถอมตะที่ยังคงครองใจผู้คน 136 ประเทศทั่วโลก ดังจะเห็นได้จากการที่โฟล์คสามารถเปิดสายการผลิตในต่างประเทศ โดยใช้วิธีส่งชิ้นส่วนไปประกอบ (CKD) ได้แก่ ไอร์แลนด์ อัฟริกาใต้ บราซิล ออสเตรเลีย เม็กซิโก และนิวซีแลนด์
ที่มา: Jonathan Harvey. Volkswagen beetle. Haynes Publishing, 2008.
เรื่อง : SIAMVWFESTIVAL
แปลโดย : อาจารย์ สฤษดิ์ ศรีโยธิน
เตรียมเนื้อหาจัดวางโดย : นาย ธนชาติ โอสถหงษ์
เจ้าของรถ : .Mr.Dumrong Bamrongpol / 1955 Volkswagen Beetle Oval / อู่ 911Garage
ติดตามข่าวสารโฟล์คสวาเก้นได้ที่เว็บไซต์ www.siamvwfestival.com หรือ FB FANPAGE SIAMVWFESTIVAL https://www.facebook.com/siamvwfestival2023